มารู้จักระบบแอร์ ระบบ invetter
ระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter) คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งจาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรนและนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์
ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร ใน การทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน
ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำงานอะไร
ประหยัดไฟได้อย่างไร เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอิน เวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น
ต่างกับระบบเดิมตรงไหน นอก จากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว
คุณสมบัติเด่น แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter
1.ประหยัดไฟกว่า 20 -30 % เนื่องจากระบบคอมเพรสเซอร์ทำงานลดรอบ (ความถี่) หลักการทำงาน เช่น แอร์บ้าน 12000 BTU พอห้องเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ระบบจะลดรอบการทำงานลงจะทำความเย็น อยู่ที่ 3000 BTU เท่านั้น เป็นการประหยัดไฟ
2.เย็นเร็วทันใจ ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ตอนเปิดเครื่องแรกๆ คอมเพรสเซอร์จะทำงานในรอบสูงสุด คือเท่าคอมย็นที่ 110% เช่น แอร์บ้าน ขนาด 12000 BTU จะทำความเย็นสูงสุดประมาณ 13500 BTU จะทำให้ห้องเย็นเร็วทันใจกว่า
3.รักษาอุณหภูมิห้องได้คงที่ การที่ระบบ อินเวอร์เตอร์ Inverter ทำงานต่อเนื่องโดยการเพิ่มหรือลดรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์ไม่มีหยุดเป็นช่วงๆ ทำให้อุณหภูมิจะนิ่งมาก รักษาอุณหภูมิได้คงที่กว่าไม่รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนระบบ แอร์บ้านธรรมดา
4.เสียงของเครื่องทำงานเงียบกว่า เนื่องจากคอมเพลสเซอร์มีการลดรอบการทำงาน ดั้งนั้นตอนที่ห้องเย็นดีแล้วคอล์ยเย็นและระบบฉีดน้ำยาจะลดเสียงการทำงานทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเงียบกว่า แอร์บ้าน รุ่นธรรมดา
5.อากาศสดชื่นกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ระบบรุ่นธรรมดา เวลาคอมเพรสเซอร์ตัด อากาศในห้องจะมีกลิ่นอับชื้น แต่ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter คอมเพรสเซอร์ไม่ตัดจะเป็นการลดรอบความเย็น จะไม่มีกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสดชื่นตลอดการใช้งาน
6.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับน้ำยาตัวใหม่ R410A ไม่ทำลายชั้นโอโซชั้นบรรยากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบนี้ ปี 2555 จะมีข้อบังคับในการใช้น้ำยาตัวใหม่ R410A สำหรับแอร์บ้านทุกเครื่อง ดั้งนั้นจะพูดได้ว่า แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เป็นแอร์อนาคต ที่ผู้บริโภคเลือกแล้วได้ประโยชน์คุ้มสุด
หมายเหตุ การตัดและเริ่มสตาร์ทของคอมเพรสเซอร์สำหรับแอร์บ้าน ระบบธรรมดา ช่วงออกตัวจะกินไฟสูงกว่าถึง 200 - 300 %
การเปรียบเทียบค่าไฟระหว่าง ระบบ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) กับ ระบบธรรมดา ประหยัดกว่า 20-30%
หมายเหตุ ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวคอมเพรสเซอร์ ลดรอบ เพิ่มรอบ เองโดยอัตโนมัติ เหมื่อนตัวอย่างในตาราง เช่น รุ่น 9000 BTU ลดรอบทำความเย็นต่ำสุด 2700 BTU รอบสปีดทำความเย็นสูงสุด 10900 BTU ทำให้ประหยัดไฟยิ่งกว่า
ก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ
1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE
EVAPPORATOR คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)
COMPRESSOR คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป
CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน
CAPILLARY TUBE คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง
หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง
คำ ว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ 1 ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้
น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง 1 ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง 1 ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h24h
ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น
ต่อไปจะเปรียบเทียบ ระหว่างแอร์ธรรมดา กับแอร์ เบอร์ 5
กรณีเป็นแอร์ เบอร์5 หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO)
หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU
กำลังไฟฟ้า wattสมมุติ ว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์5 เพราะ EER เกิน 10.6
1000
แต่ถ้า แอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6
1200
ถ้า เปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า 2 คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี
มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ
1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU
การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง
เลือกซื้อแอร์อย่างไรให้ได้คุณภาพ
อากาศร้อนมากขึ้นทุกวันๆ แบบนี้ ทำให้คุณแม่บ้านหลายคนทนไม่ไหวต้องออกไปถอยแอร์ปรับอากาศมาใหม่ให้เย็นชื่นใจมาไว้ที่บ้านสักเครื่อง แต่เลือกยังไงก็ไม่ถูกใจ เพราะแต่ละยี่ห้อก็มีคุณสมบัติดีแตกต่างกันจนเลือกไม่ถูก เอาเป็นว่าเพื่อให้คุณได้เลือกง่ายขึ้น วันนี้มีคำแนะนำดีๆ ในการเลือกแอร์มาแนะนำ
เลือกบีทียูให้พอดีกับขนาดห้อง ขนาดการทำงานของแอร์เรียกว่าบีทียู ซึ่งการเลือกให้เหมาะสมกับห้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าเลือกที่มีบีทียูสูงเกินไป ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย และประสิทธิภาพการทำงานลดลง อีกทั้งห้องนั้นจะมีความชื้นสูง เปลืองไฟ แต่ถ้าเลือกบีทียูต่ำไป คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา ทำให้เปลืองพลังงานและเครื่องเสียเร็วอีกด้วย
มองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นการเลือกเครื่องปรับอากาศที่ไม่กินไฟมาก แต่ให้ความเย็นได้เท่ากัน ซึ่งหากแอร์ที่คุณเลือกมีบีทียูเท่ากันและเป็นเบอร์ 5 ก็ให้ดูที่ค่าอีอีอาร์ หรือ Energy Efficiency Ratio มากกว่า เพราะจะกินไฟน้อยกว่า สามารถดูได้จากเอกสารแนะนำสินค้า
ดูการใช้งาน การติดตั้ง และบริการหลังการขาย แนะนำให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ มีการทำตลาดมานาน ติดตั้งโดยผู้ชำนาญการ และมีบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงการรับประกันต่างๆ ด้วย
คุณสมบัติ ดีไซน์ คุ้มค่ากับราคา ปัจจุบันแอร์จะแข่งขันกันได้ด้วยเทคโนโลยีการให้ความเย็นที่ทันสมัย ความเงียบ จนถึงเรื่องของสุขภาพที่มีการใส่เครื่องฟอกอากาศเข้าไปด้วย ซึ่งก็มีหลายแบบ ดังนั้นจึงควรสอบถามจากผู้ขายให้ดี หรือศึกษาข้อมูลของระบบฟอกอากาศต่างๆ ก่อนซื้อ จะได้เปรียบเทียบกับราคาว่าดีจริงหรือไม่ เพราะบางยี่ห้อของเครื่องปรับอากาศที่ระบุว่า "มีระบบฟอกอากาศ" นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงการป้องกันเชื้อโรค ไม่ให้เข้าไปแพร่เชื้อภายในเครื่องขณะที่ไม่ทำงานเท่านั้นหมายเหตุ ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวคอมเพรสเซอร์ ลดรอบ เพิ่มรอบ เองโดยอัตโนมัติ เหมื่อนตัวอย่างในตาราง เช่น รุ่น 9000 BTU ลดรอบทำความเย็นต่ำสุด 2700 BTU รอบสปีดทำความเย็นสูงสุด 10900 BTU ทำให้ประหยัดไฟยิ่งกว่า
ก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ
1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE
EVAPPORATOR คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)
COMPRESSOR คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป
CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน
CAPILLARY TUBE คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง
หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง
คำ ว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ 1 ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้
น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง 1 ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง 1 ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h24h
ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น
ต่อไปจะเปรียบเทียบ ระหว่างแอร์ธรรมดา กับแอร์ เบอร์ 5
กรณีเป็นแอร์ เบอร์5 หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO)
หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU
กำลังไฟฟ้า wattสมมุติ ว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์5 เพราะ EER เกิน 10.6
1000
แต่ถ้า แอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6
1200
ถ้า เปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า 2 คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี
มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ
1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU
การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง
เลือกซื้อแอร์อย่างไรให้ได้คุณภาพ
อากาศร้อนมากขึ้นทุกวันๆ แบบนี้ ทำให้คุณแม่บ้านหลายคนทนไม่ไหวต้องออกไปถอยแอร์ปรับอากาศมาใหม่ให้เย็นชื่นใจมาไว้ที่บ้านสักเครื่อง แต่เลือกยังไงก็ไม่ถูกใจ เพราะแต่ละยี่ห้อก็มีคุณสมบัติดีแตกต่างกันจนเลือกไม่ถูก เอาเป็นว่าเพื่อให้คุณได้เลือกง่ายขึ้น วันนี้มีคำแนะนำดีๆ ในการเลือกแอร์มาแนะนำ
เลือกบีทียูให้พอดีกับขนาดห้อง ขนาดการทำงานของแอร์เรียกว่าบีทียู ซึ่งการเลือกให้เหมาะสมกับห้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าเลือกที่มีบีทียูสูงเกินไป ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย และประสิทธิภาพการทำงานลดลง อีกทั้งห้องนั้นจะมีความชื้นสูง เปลืองไฟ แต่ถ้าเลือกบีทียูต่ำไป คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา ทำให้เปลืองพลังงานและเครื่องเสียเร็วอีกด้วย
มองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นการเลือกเครื่องปรับอากาศที่ไม่กินไฟมาก แต่ให้ความเย็นได้เท่ากัน ซึ่งหากแอร์ที่คุณเลือกมีบีทียูเท่ากันและเป็นเบอร์ 5 ก็ให้ดูที่ค่าอีอีอาร์ หรือ Energy Efficiency Ratio มากกว่า เพราะจะกินไฟน้อยกว่า สามารถดูได้จากเอกสารแนะนำสินค้า
ดูการใช้งาน การติดตั้ง และบริการหลังการขาย แนะนำให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ มีการทำตลาดมานาน ติดตั้งโดยผู้ชำนาญการ และมีบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงการรับประกันต่างๆ ด้วย
คุณสมบัติ ดีไซน์ คุ้มค่ากับราคา ปัจจุบันแอร์จะแข่งขันกันได้ด้วยเทคโนโลยีการให้ความเย็นที่ทันสมัย ความเงียบ จนถึงเรื่องของสุขภาพที่มีการใส่เครื่องฟอกอากาศเข้าไปด้วย ซึ่งก็มีหลายแบบ ดังนั้นจึงควรสอบถามจากผู้ขายให้ดี หรือศึกษาข้อมูลของระบบฟอกอากาศต่างๆ ก่อนซื้อ จะได้เปรียบเทียบกับราคาว่าดีจริงหรือไม่ เพราะบางยี่ห้อของเครื่องปรับอากาศที่ระบุว่า "มีระบบฟอกอากาศ" นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงการป้องกันเชื้อโรค ไม่ให้เข้าไปแพร่เชื้อภายในเครื่องขณะที่ไม่ทำงานเท่านั้น